แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /…
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แรงและความดัน เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความดันของอากาศ เวลา 1 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่…. ธันวาคม 2552
1. สาระสำคัญ
อากาศมีแรงกระทำต่อวัตถุ แรงที่อากาศกระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เรียกว่า ความดันอากาศ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนอธิบายความดันของอากาศได้
2.2 นักเรียนปฏิบัติการทดลองเรื่อง อากาศมีแรงดันและเรื่องแก้วมหัศจรรย์ได้
2.3 นักเรียนปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
3.สาระการเรียนรู้
ความดันของอากาศ
4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 จัดทำนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม โดยวิธีการจับสลาก
4.2 นำเสนอสื่อโดยการนำภาพเกี่ยวกับความดันของอากาศมาให้นักเรียนดู แล้วตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้
- จากภาพ นักเรียนคิดว่า แผ่นกระดาษติดอยู่ที่ปากแก้วได้ เพราะอะไร
- การทดลองนี้ เป็นการทดลองเกี่ยวกับแรงของสิ่งใด
4.3 ครูอธิบายความดันของอากาศ และนำภาพความดันอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ มาให้นักเรียนดู ให้นักเรียนจดบันทึกลงสมุด ครูตั้งคำถามให้นักเรียนอธิบาย โดยวิธีการสุ่มถามตามเลขที่ ดังนี้
- ความดันของอากาศต่อหนึ่งหนึ่งหน่วยพื้นที่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งใด
- จุดที่อยู่สูงจากพื้นโลกมาก ความดันของอากาศจะเป็นอย่างไร
4.4 ครูอธิบายการปฏิบัติการทดลอง โดยอธิบาย อุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ แล้วให้นักเรียนปฏิบัติการทดลอง เรื่อง อากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์
4.5 นักเรียนปฏิบัติการทดลองที่กำหนด โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันปฏิบัติการทดลอง แล้วบันทึกลงในใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง อากาศมีแรงดัน และใบกำหนดงานที่ 2 เรื่อง แก้วมหัศจรรย์
ใบกำหนดงานที่ 1
เรื่อง อากาศมีแรงดัน
จุดประสงค์ ทดลองและอธิบายได้ว่าอากาศมีแรงดัน
อุปกรณ์ 1. ขวดปากแคบ 1 ใบ
2. กรวย 1 อัน
3. ดินน้ำมัน 1 ก้อน
วิธีการทดลอง
1. ให้แต่ละกลุ่มวางกรวยลงบนปากขวดแล้วใช้ดินน้ำมันหุ้มรอบกรวยกับปากขวดให้แน่น ไม่ให้มีรอยรั่ว
2. เทน้ำลงในกรวยอย่างรวดเร็ว สังเกตการณ์ไหลของน้ำในขวด
3. เมื่อน้ำจากกรวยไม่สามารถไหลลงในขวดได้ ให้ใช้ดินสอเจาะรูที่ดินน้ำมันบริเวณปากขวด สังเกตการณ์ไหลของน้ำจากกรวยลงในขวดอีกครั้ง
บันทึกผล
การทดลอง
ผลการทดลอง
สังเกตการณ์ไหลของน้ำจากกรวยลงในขวด
…………………………………………………….....
…………………………………………………….....
…………………………………………………….....
…………………………………………………….....
เจาะรูที่ดินน้ำมันและสังเกตการไหลของน้ำจากกรวยลงในขวด
…………………………………………………….....
…………………………………………………….....
…………………………………………………….....
…………………………………………………….....
สรุปผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
4.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียน ส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทดลองเรื่องอากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์ ที่หน้าชั้นเรียน
4.7 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป ผลการปฏิบัติการทดลอง เรื่องอากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์ ประเมินผล สรุปผลและเพิ่มเติมเนื้อหา
5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ภาพเกี่ยวกับความดันของอากาศ
2. ภาพความดันอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
3. อุปกรณ์การทดลอง โดยมีขวดปากแคบ กรวย ดินน้ำมัน แก้วขนาดเล็ก กระดาษแข็ง
4. ใบกำหนดงานที่ 1 เรื่อง อากาศมีแรงดัน
5. ใบกำหนดงานที่ 2 เรื่อง แก้วมหัศจรรย์
6. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.5
6. การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายความดันของอากาศ โดยตรวจผลการเขียนอธิบายความดันของอากาศ ลงในสมุดบันทึกและการตอบคำถาม โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
2. วัดผลการปฏิบัติการทดลองเรื่อง อากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์ โดยตรวจผลการปฏิบัติการทดลองเรื่อง อากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์ ในใบกำหนดงาน โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
3. วัดผลการปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการให้คะแนนการสังเกต การวิเคราะห์ การสื่อสาร การอนุมาน ตามแบบฟอร์มที่จัดทำ
7. การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายความดันของอากาศ พบว่านักเรียน.........คน อธิบายความดันของอากาศ ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องความดันของอากาศ เพิ่มเติม
2. ประเมินผลปฏิบัติการทดลองเรื่อง อากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์ พบว่านักเรียน.........คน ปฏิบัติการทดลองเรื่อง อากาศมีแรงดันและเรื่อง แก้วมหัศจรรย์ ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้มาปฏิบัติการทดลองให้ดูหลังเลิกเรียน
3. ประเมินผลตามเกณฑ์การประเมิน
8. บันทึกหลังสอน…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)